วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Unseen of secret in thailand

มุมมองใหม่มหัศจรรย์สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ภาคเหนือ

พระประธานจตุรทิศ วัดภูมินทร์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดน่าน

รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
วัดภูมินทร์ อยู่ที่บ้านภูมินทร์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน สร้างปี พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เดิมชื่อ วัดพรหมมินทร์ เป็นวัดที่มีลักษณะแตกต่างจากวัดอื่นๆ คือ พระอุโบสถและวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข ซึ่งกรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย ประตูไม้สักทองทั้งสี่ทิศ แกะสลักลึกเป็นลวดลายเครือเถาที่มีทั้งดอกและผลระย้าย้อย รวมทั้งสัตว์นานาชนิด โดยฝีมือช่างเมืองน่าน มีบันไดขึ้นวิหารทั้งสี่ด้าน โดยด้านทิศเหนือเป็นเศียรพญานาค ลำตัวเลื่อยตามราวบันได ส่วนหางอยู่ทางทิศใต้ ปลายราวบันไดทางทิศตะวันตกและตะวันออกเป็นรูปตัวเหงา ที่ยอดกลางหลังคาวิหารมีหางนาคของสันหลังคาทุกด้านไปรวมกันและประดับฉัตรด้านบน กึ่งกลางภายในวิหารมีแกนกลาง ทำหน้าที่รับน้ำหนักหลังคา ประกอบด้วยฐานปัทมลูกแก้วอกไก่รับแท่งสี่เหลี่ยมยกเก็จ ถัดขึ้นไปเป็นทรงคลุ่มคล้ายองค์ระฆัง ที่ด้านทั้งสี่ของแท่งสี่เหลี่ยมนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกัน


พระนั่งดิน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้ ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น ชาวบ้านเคยสร้างฐานชุกชีและอัญเชิญองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐาน แต่ปรากฏว่ายกไม่ขึ้น จนถึงปัจจุบันนี้ จึง เรียกขานนามสืบต่อกันมาว่า พระนั่งดิน หรือพระเจ้านั่งดิน

วัดโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธชินราช ที่เมืองพิษณุโลก ครั้นขบวนเสด็จไปถึงบ้านโพธิ์ประทับช้าง เมืองโอฆะบุรี นางพระราชทานเกิดเจ็บครรภ์ พระองค์จึงโปรดให้หยุดขบวนช้างตรงลานโล่งระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อใหญ่ จนนางได้คลอดทารกเพศชาย และเอารกเด็กน้อยไปฝังไว้ใต้ต้นมะเดื่อ ภายหลังเด็กผู้นี้ได้ขึ้นครองแผ่นดินอยุธยา ทรงพระนามว่าพระเจ้าดอกเดื่อตามชื่อต้นไม้ที่ทรงมีประสูติกาล หรือที่รู้จักกันต่อมาว่าพระเจ้าเสือ เพื่อรำลึกถึงสถานที่ประสูติของพระองค์ จึงได้โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นข้างต้นโพธิ์ใหญ่ พระราชทานนามวัดนี้ว่า 'วัดโพธิ์ประทับช้าง'


เจดีย์เหลี่ยม วัดพระธาตุจามเทวี จังหวัดลำพูน


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
กู่กุด หรือพระเจดีย์สุวรรณจังโกฏ วัดพระธาตุจามเทวี หรือวัดกู่กุด ตั้งอยู่ริมถนนจามเทวี ตำบลในเมือง จังหวัดลำพูน สร้างโดยช่างชาวละโว้ ในปี พ.ศ. 1298 ลักษณะพระเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาในประเทศอินเดีย แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนปางประทานพรอยู่เป็นชั้นๆ ภายในเจดีย์บรรจุพระอัฐิของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริกุญไชย นครแห่งนี้สร้างขึ้นระหว่างแม่น้ำปิงและแม่น้ำกวงเมื่อ พ.ศ. 1200 โดยพระวาสุเทวฤาษี จากสำนักดอยสุเทพเมืองเชียงใหม่ และพระสุกกทันตฤาษี จากเมืองละโว้ เมื่อสร้างเสร็จได้เชิญพระธิดาพระมหากษัตริย์แห่งกรุงละโว้พระนามว่า"จามเทวี" มาปกครองเมือง ซึ่งขณะที่พระนางเดินทางมานั้นพระนางกำลังทรงพระครรภ์อยู่ ครั้นถึงเมืองลำพูนได้ไม่นาน ก็ทรงมีพระประสูติกาลพระกุมารฝาแฝด องค์พี่ทรงพระนามว่า "มหันตยศกุมาร" ส่วนองค์น้องทรง พระนามว่า "อนันตยศกุมาร" พระนางเป็นปราชญ์ที่มีความกล้าหาญทางคุณธรรม และยังมีพระสิริโฉมงดงาม ปกครองบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง และได้นำพุทธศาสนาศิลปวัฒนธรรมมาเผยแพร่ในดินแดนลานนาไทย ทรงอยู่ในราชสมบัติ 16 ปี จึงได้มอบราชสมบัติให้ พระเจ้ามหันตยศ พระโอรสองค์โต แล้วเสด็จเข้าปฏิบัติธรรมเป็นพระรูปชี และทรงเสด็จไปประทับอยู่ ณ เมืองเขลางค์นคร ซึ่งพระเจ้าอนันตยศ พระโอรสองค์เล็กได้ออกไปสร้างไว้ ครั้นปลายปีที่สองนั้น ทรงเกิดอาการประชวร จึงเสด็จกลับหริภุญชัย หลังจากนั้นเพียง 6 สัปดาห์ ก็เสด็จสวรรคต รวมพระชนมายุได้ 92 พระชันษา พระโอรสทั้งสองได้ทรงถวายพระเพลิงพระนาง ณ บริเวณวัดสันป่ายางหลวงปัจจุบันนี้ แล้วนำพระบรมอัฐิของพระนางบรรจุ ณ พระสุวรรณจังโกฏิเจดีย์ วัดจามเทวี เดิมมียอดห่อหุ้มด้วยทองคำ ต่อมายอดเจดีย์หักสูญหายไป จึงเรียกกันว่ากู่กุด

พระอจนะ วัดศรีชุม อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุโขทัย


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
พระพักตร์ของพระพุทธรูปปางมารวิชัยดูเอิบอิ่มเต็มตาตามคติช่างสุโขทัย ความยิ่งใหญ่ขององค์พระอจนะนั้น ยิ่งดูศักดิ์สิทธิ์เร้นลับเมื่อเดินผ่านช่องและบันไดแคบๆ ไปยังผนังด้านข้างองค์พระ ที่ช่องเล็กๆ นั้นเมื่อเสียงใดถูกเปล่งออกมาจะก้องสะท้อนทั่วอุโบสถ ผนวกกับความอลังการขององค์พระประธาน คงเป็นอีกความอัศจรรย์หนึ่งซึ่งสืบเนื่องถึงที่มาของความเชื่อที่ว่า พระอจนะพูดได้

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
วัดสองคอน มีชื่อเต็มว่า สักการะสถานแห่งมรณะสักขี วัดสองคอน หรือในชื่อเดิมว่า วัดพระแม่ไถ่ทาส อยู่ที่ บ้านสองคอน ตำบลโป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร เป็นโบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาธอลิก ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรสถานเทิดพระเกียรติบุญราศรีมรณสักขีทั้ง 7 ท่าน ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากในระยะนั้นผู้คนแถบชายแดนจะศรัทธาและนับถือศาสนาคริสต์กันเป็นจำนวนมาก ทางการไทยได้มีคำสั่งให้ชาวบ้าน และมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นหลายอย่าง ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงยอมรับว่าจะเลิกแต่ก็ยังนับถือกันแบบลับๆ แต่ก็มีคน 7 คน ไม่ยอมรับปากกับทางตำรวจว่าจะเลิก ตำรวจจึงนำตัวไปยิงทิ้งเสียทั้งหมด ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พระสันตปาปาก็ได้ประกาศให้ท่านทั้งเจ็ดคนเป็น "บุญราศีมรณสักขี" ซึ่งหมายถึง คริสตชนผู้ที่ประกอบกรรมดีและพลีชีพเพื่อประกาศยืนยันความเชื่อในพระเจ้าไม่ยอมละทิ้งศาสนา ปัจจุบัน มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือ มิสซาบูชา ในวันธรรมดา เวลา 6.00 น. และในวันอาทิตย์ เวลา 7.00 น. และในทุกๆ ปี ที่วัดสองคอนจะมีพิธีเฉลิมฉลองรำลึกการสถาปนาแต่งตั้งบุญราศี ณ กรุงโรม วันที่ 22 ต.ค. และพิธีรำลึกบุญราศีสองคอน 16 ต.ค.

โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
มีประวัติเล่าสืบกันมาว่าในปี ค.ศ.1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่างๆ กัน เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหาบาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ต.เชียงเพ็ง อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและ ครอบครัว ซึ่ง บาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพ ไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบ ฝาขัด แตะเล็กๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่าง เป็นทางการ เป็นภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษคือโบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศสคือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมีบาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีต ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก เกือบทั้งหมด

สุริยปฏิทิน ปราสาทภูเพ็ก ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ยามแสงเรื่อเรืองอาบไล้ปราสาทหินเก่าแก่ที่อวลด้วยกลิ่นอายศิลปะขอม ไม่ใช่เพียงแค่ความงดงามศักดิ์สิทธิ์ หากยังปรากฏความอัศจรรย์ลงบนแท่งหินอายุนับ 1,000 ปี ที่เป็นเครื่องบ่งบอกคืนวันและฤกษ์ยามในการดำเนินชีวิตของบรรรพชนที่ผูกร้อยอยู่กับดวงตะวัน ในบริเวณปราสาทภูเพ็ก ซึ่งอยู่บนยอดเขาหินทรายบนเทือกเขาภูพาน เขตอุทยานแห่งชาติภูพาน และตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ปรากฎแท่นหินทราย ขนาด 56 X 56 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร ด้านบนมีการแกะสลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงรอบเป็นรูปทรงเรขาคณิตจำนวน 16 ช่อง ใช้ตามติดตามตำแหน่งของดวงอาทิตย์ จากทิศทางของแสง จะได้ทราบฤดูกาลและกำหนดเวลาทำการเกษตร การก่อสร้างได้


บ้านคำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
คำชะโนด ตั้งอยู่บนพื้นที่ราว 20 ไร่ ซึ่งมีลำน้ำโอบล้อมเกือบรอบคล้ายดังเกาะ อยู่ในตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงให้ความเคารพนับถือ เป็นสถานที่ 1 ใน 3 แห่งที่ผู้คนแห่งลุ่มน้ำโขงทั้งไทย-ลาว เชื่อว่าเป็นประตูลงสู่เมืองบาดาล สถานที่อาศัยของพญานาคแห่งแม่น้ำโขง แผ่นดินศักดิ์สิทธ์อันมีตำนานเกี่ยวกับพญานาค และกำเนิดของแม่น้ำโขงแห่งนี้ เรียกกันว่า…'วังนาคินทร คำชะโนด' หรือเมืองชะโนด ตามความเชื่อของชาวอีสาน และชาวลาวบริเวณนี้กล่าวว่าเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีผีจ้างหนังของบริษัทแจ่มจันทร์ภาพยนตร์ไปฉายหนังและมีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมาก และมีการพิสูจน์ว่าผู้เข้าชมเหล่านั้นไม่ใช่ชาวบ้าน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าว ปกคลุมไปด้วยปาล์มลักษณะประหลาด ลักษณะคล้ายกับต้นตาล และต้นมะพร้าวรวมกัน เรียกว่า ต้นชะโนด ภายในสถานที่แห่งนี้มีศาลเจ้า และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้กราบไหว้

ภาคกลาง

วัดใหญ่สุวรรณาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
วัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลหน้าพระลาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี สร้างมานานตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสและศรัทธาพระสังฆราชแตงโม ซึ่งเคยอุปสมบทอยู่ที่วัดนี้ก่อนที่จะเป็นพระราชาคณะอยู่ในกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นก็ได้ถวายพระพรลากลับมาจำพรรษาอยู่ที่นี้อีก พระเจ้าเสือจึงได้พระราชทานพระตำหนักไม้สักทรงไทยหลังหนึ่ง มาสร้างเป็นศาลาการเปรียญ ซึ่งมีความงดงามด้วยแกะสลักไม้อ่อนช้อย มีโถงประดับด้วยนาค และสาหร่ายรวงผึ้ง ในศาลามีเสาแปดเหลี่ยมเขียนลายรดน้ำเป็นคู่ ๆ ไปทุกคู่ ลายไม่ซ้ำกัน ฝาข้างนอกเขียนลายทอง ข้างในเขียนลายด้วยสีฝุ่น ภายในมีธรรมาสน์ซึ่งแกะสลักลงรักปิดทอง รูปทรงเป็นบุษบกสวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ประตูด้านหน้าจำหลักไม้เป็นลายก้านขด ปิดทองงดงาม ที่ประตูอีกบานหนึ่งมีรอยแตกเป็นช่องยาวเล่ากันว่า ถูกพม่าซึ่งยกทัพมาฟัน เพื่อค้นหาคนที่หนีไปซุกซ่อนตัวอยู่ในศาลาหลังนี้ ปัจจุบัน ภายในได้ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จเจ้าแตงโมนั่งพับเพียบพนมมือถือ ดอกบัว ไว้ด้านหน้าของพระประธาน


วัดบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
วัดบ้านกุ้ง ตั้งอยู่บนถนนราชบุรี-วัดโบสถ์ หมู่ที่ 4 ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที ซึ่งเป็นบริเวณค่ายบางกุ้ง เดิมเคยเป็นค่ายทหารเรือ สมัยพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ ที่มีเรื่องราวของวีรกรรมชาวแม่กลอง ในช่วงปลายสมัยอยุธยาและตอนต้นกรุงธนบุรี ทหารไทย-จีน โดยการนำของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) พระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) สู้รบขับไล่กองทัพพม่าจนแตกพ่ายไป
ในบริเวณ มีกำแพงจำลองของค่าย อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สระน้ำโบราณอายุประมาณ 400 ปี และพบสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งอย่าง ได้แก่ โบสถ์ปรกโพธิ์ เป็นอารามเก่าแก่ คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2250-2300 ซึ่งมีต้นไม้ 4 ชนิด คือ ต้นโพธิ์ ต้นไทร ต้นไกร และต้นกร่าง ค้ำยันแผ่กิ่งก้านคลุมโบสถ์ไว้จนไม่เห็นรูปทรง ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณี (หลวงพ่อดำ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่


วัดหน้าพระเมรุ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ความวิจิตรอลังการของศิลปะสมัยอยุธยา ยังคงเจิดจรัสอยู่ที่วัดหน้าพระเมรุอย่างสมบูรณ์ที่สุด ด้วยเพราะมิได้มอดไหม้ไปกับสงครามเยี่ยงวัดอื่นๆ ทั้งหลายในอดีตราชธานีแห่งนี้ ลวดลายจำหลักไม้และงานปูนปั้นยังพราวตาเมื่อมาสัมผัส ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทรงเครื่องอย่างกษัตราธิราช ซึ่งงดงามและใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันวัดหน้าพระเมรุ ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง ตรงข้ามพระราชวังโบราณ มีสถานะเป็นพระอารามหลวง สามัญชั้นตรี ตำนานกล่าวว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีทรงสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2047 เดิมให้ชื่อว่าวัดพระเมรุราชิกราม สันนิษฐานว่าบริเวณนี้เป็นที่สร้างพระเมรุเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในปี พ.ศ. 2106 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้มีสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าบุเรงนอง ได้สร้างพลับพลาที่ประทับระหว่างวัดพระเมรุและวัดหัสดาวาส วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเพียงวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกทำลายในคราวเสียกรุง จึงยังคงสภาพที่สมบูรณ์มากที่สุด


ภาคใต้

พระธาตุศักดิ์สิทธ์ไร้เงา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองฯ นครศรีธรมราช


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
องค์เจดีย์ทรงลังกาที่เรียงรอบด้วยเจดีย์รายตามแนวคิดทางจักรวาลวิทยา ไม่เพียงความเก่าแก่และงดงามเท่านั้นที่รู้สึกได้ หากยังเปี่ยมไปด้วยรูปรอยทางประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณแห่งหนึ่งของแดนขวานทอง ยามแดดตกต้ององค์พระธาตุ เหลื่อมเงากลับทาบทอดไม่ถึงพื้นจนแลคล้ายว่าเจดีย์ยิ่งใหญ่องค์นี้นั้นไร้เงาอย่างน่าอัศจรรย์


วัดชลธาราสิงเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส


รายละเอียดแหล่งท่องเที่ยว
ความละเอียดลออของเชิงช่างที่ตัวอุโบสถ และความสงัดเงียบภายในบริเวณวัดชลธาราสิงเห รวมถึงลำน้ำตากใบที่ทอดยาวไหลนิ่งอยู่เบื้องหน้านั้น ไม่เพียงแต่ความงามเท่านั้นที่เป็นเรื่องน่าประทับใจ หากยังมีเรื่องราวของการแบ่งแยกดินแดนระหว่างสยามและอังกฤษในครั้งอดีต ทบซ้อนอยู่ให้เรียนรู้ ณ วัดปลายดินแดนไทยแห่งนี้วัดชลธาราสิงเห ตั้งอยู่ที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ 3 ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2403 โดยพระภิกษุพุ





























































วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา


หมู่เกาะสุรินทร์ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 29 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีขนาดพื้นที่ 135 ตารางกิโลเมตร (84,357 ไร่) เป็นพื้นที่เกาะร้อยละ 24 ที่เหลือเป็นทะเล ประกอบด้วย 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะรี (สต็อคหรือไฟแว๊บ) เกาะกลาง (ปาจุมบาหรือมังกร) และเกาะไข่ (ตอรินลา) บริเวณใกล้เคียงยังมีหินแพและหินกอง และทางทิศตะวันออก ห่างจากเกาะประมาณ 14 กิโลเมตร มีกองหินโผล่น้ำที่มีชื่อเสียงมากในเรื่องการดำน้ำลึกชื่อว่า ริเชลิ่ว ปัจจุบันกำลังผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ไม่ได้เป็นแค่เพียงสถานที่ให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนเยี่ยมชมหาความสำราญสนุกสนานเฮอาเท่านั้น แต่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ยังเป็นสถานที่ซึ่งมีคุณค่าอันประเมินไม่ได้ เป็นมรดกทางธรรมชาติ และยังเป็นแหล่งความรู้สำหรับทุกคน เป็นที่รวมของธรรมชาติทั้งพันธุ์พืชและสัตว์ป่ามากมายหลายชนิด อาจกล่าวได้ว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นห้องเรียนธรรมชาติที่สมบูรณ์บริสุทธิ์ เป็นที่รวมของระบบนิเวศจากป่าดิบชื้น ป่าชายหาด ป่าชายเลน มาประจบกับแนวปะการัง ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่หลากหลายที่สุดในท้องทะเล และด้วยอาณาเขตที่ครอบคลุมทั้งทะเลและพื้นป่าอันสุดสมบูรณ์ จึงมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก ตั้งแต่ปลาใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ฉลามวาฬ จนถึงนกหายากอย่าง กระแตผีชายหาด ชาปีไหน รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บ่าง ที่ร่อนไปมาให้เห็นกันบ่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่ผู้ไปเยือนจะก่อความเสียหาย ทำลาย หรือแม้แต่กระทำการรบกวน ต่อเจ้าของบ้าน เช่น ปูเสฉวนตัวเล็ก ๆ สักตัว
เส้นทางศึกษาธรรมชาติ


เกาะสุรินทร์เหนือ เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ มีบ้านพัก ร้านอาหาร อุปกรณ์ดำน้ำตื้นและเรือหางยาว เกาะสุรินทร์เหนือมีภูมิสัณฐานที่เป็นอ่าวเว้าแหว่งอยู่รอบ แต่ละแห่งล้วนกว้างใหญ่ สวยงามและสงบ จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมกางเต็นท์มากที่สุดคือบริเวณหน้าอ่าวช่องขาด ตรงข้ามกับเกาะสุรินทร์ใต้ และบริเวณนี้ยังเป็นจุดชมดวงอาทิตย์ตกที่สวยงามมาก รองลงมาคือลานกว้างเหนือหาดที่อ่าวไม้งาม ส่วนอ่าวอื่น ๆ ต้องนั่งเรือหางยาว เช่น อ่าวจาก ใช้เวลานั่งเรือประมาณ 45 นาที


• เกาะสุรินทร์ใต้ มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง แต่ต้องนั่งเรือไปจากเกาะสุรินทร์เหนือเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมการดำน้ำตื้นรอบๆเกาะ จุดเด่นคือ อ่าวสุเทพ อ่าวผักกาด และจุดที่นักท่องเที่ยวมีโอกาสพบเต่ามากที่สุดก็คือ เกาเต่า


ดำน้ำลึก หมู่เกาะสุรินทร์มีแหล่งดำน้ำลึกที่สวยงามมากมายโดยเฉพาะที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือ กองหินปริ่มน้ำที่มีชื่อว่า ริเชลิว ซึ่งกำลังจะถูกผนวกเข้ากับอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ กองหินนี้อยู่ห่างจากเกาะสุรินทร์มาทางทิศตะวันออกประมาณ 14 กิโลเมตร สำหรับนักดำน้ำที่สนใจสามารถติดต่อกับทัวร์ได้ทั่วไป ส่วนจุดดำน้ำลึกรอบเกาะนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง




• ดำน้ำตื้น ในบริเวณอ่าวรอบๆ หมู่เกาะสุรินทร์เกือบทุกอ่าวจะเต็มไปด้วยแนวปะการังแข็งที่สมบูรณ์ที่สุดของท้องทเลไทย เป็นที่อาศัย หากิน หลบภัย และขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากในระบบนิเวศ ทั้งหมดนี้สามารถชมได้เพียงก้มมองใต้ผิวน้ำ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงไม่พลาดโอกาส ที่จะต้องลงดำน้ำตื้นเมื่อมาถึงหมู่เกาะสุรินทร์จุดดำน้ำตื้นที่สำคัญของเกาะสุรินทร์

1.อ่าวแม่ยาย มีปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หอยมือเสือ
2.หินกอง บริเวณนีมีปลาใหญ่เยอะหน่อยครับ
3.อ่าวเต่า มีปลาและหนอนพู่ฉัตร
4.อ่าวมังกร จะมีกลุ่มดอกไม้ทะเลและปลาการ์ตูน
5.เกาะตอรินล่า มีเต่าทะเล ปลาฉลามหูดำและแนวปะการังเขากวาง
6.อ่าวสุเทพ มีกัลปังหา ปะการังและปลาตามพื้นหน้าดิน อาทิปลากระเบน ปลาโรนัล
7.อ่าวไม้งาม มีปลาเยอะครับ
8.อ่าวจาก บริเวณนี้มีปะการังและปลาเยอะ
9.อ่าวผักกาด เน้นดูปลานานาชนิด
10.เกาะสต๊อค ที่นี่มีปลาใหญๆให้ดูเยอะ(ข้อมูลจากการบอกกล่าวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯเกาะสุรินทร์)
ข้อห้ามดำเนินการในเขตอุทยานฯ
1.ห้ามก่อกองไฟ
2.ห้ามประกอบอาหาร
3.ห้ามจุดเทียนไขในเต้นท์
4.ห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
5.ห้ามเคลื่นย้ายเครื่องนอนทั้งในบ้านพักและเต็นท์
6.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในเขตอุทยานฯ
7.ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อุทยานฯอย่างเคร่งครัด
ติดต่อสำรองที่พักที่ส่วนอุทยานแห่งชาติทางทะเล กรมป่าไม้
โทร.0-2561-2918, 0-2561-2921, 0-2561-4292-4 ต่อ 746 หรือที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
โทร.0-7649-1378, 0-7649-1582 โทรสาร 0-7649-1583

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ตำนานปรางค์นางผมหอม

ปรางค์นางผมหอม
มีตำนานพื้นเมืองเรื่องปรางค์นางผมหอมอยู่ว่า ราชธิดา ของเจ้าเมืองแห่งหนึ่งชื่อนางผมหอม มีความงามเป็นเลิศ ทุกครั้งที่นางสระสนาน มักจะไปนั่งที่ก้อนหินก้อนหนึ่งแล้วสระผม บริเวณที่ก้อนหินนั้นตั้งอยู่จึงเรียกว่า ท่านางสระผม วันหนึ่งผมของนางลอยไปตามน้ำกษัตริย์อีกเมืองหนึ่งเก็บผมของนางได้ เกิดความหลงไหลเจ้าของผม จึงให้ทหารออกตามหาเจ้าของผม จนพบแล้วกลับมากราบทูลให้ทรงทราบ กษัตริย์องค์นั้นจึงเสด็จไปหานาง เมื่อพบแล้วก็เกิดความรักแต่นางมีคู่หมั้นก่อนแล้ว และเป็นสหายของพระองค์ด้วย ดังนั้นทั้งสองฝ่ายจึงพนันตีคลีกัน ผู้ใดชนะก็จะได้นางผมหอมไปเป็นชายา นางผมหอมเฝ้าดูการตีคลีด้วยความอัดอั้นตันใจจึงได้ผูกคอตาย ฝ่ายทั้งสองชายเมื่อทราบเรื่องก็ชวนกันกระโดดน้ำตายด้วยความเสียใจ สถานที่แห่งนั้นจึงได้ชื่อว่า ปากชวน ส่วนศพนางผมหอมก็ได้บรรจุไว้ในปรางค์ จึงได้ชื่อว่า ปรางค์นางผมหอม สถานที่ตีคลีพนันกันก็ได้ชื่อว่า โคกคลี ที่ตั้งปรางค์นางผมหอมมีแม่น้ำมาบรรจบกัน 2 สาย คือ ลำสนธิ กับ ลำพระยากลาง สันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้แต่เดิมเป็นเมืองโบราณ ลักษณะปรางค์นางผมหอมเป็นปรางค์องค์เดียวโดดๆ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 17 เป็นศิลปสถาปัตยกรรมแบบบาปวน ก่อด้วยอิฐก้อนใหญ่ไม่มีปูนสอ เช่นเดียวกับปรางค์แขก สภาพปัจจุบันยอดหักลงมาหมดแล้ว มีประตูเข้าไปภายในปรางค์ได้ ภายในปรางค์เป็นห้องโถง กรอบประตูสร้างด้วยแท่งหิน รอบๆ ปรางค์ยังมีก้อนหินใหญ่อยู่กระจัดกระจาย ปรางค์นางผมหอม ตั้งอยู่ที่ตำบล หนองยายโต๊ะ อำเภอ ชัยบาดาล จังหวัด ลพบุรี